ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุและการป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ

การล้มในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่พบได้ง่าย การล้มนำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งปัญหาด้านสภาพร่างกาย และจิตใจ จนนำไปสู้ปัญหาเรื้อรัง คือ ภาวะกลัวการล้มจนไม่อยากจะทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ลดการเข้าสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่ลดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรที่จะทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะล้ม

การล้มในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ 
ความเข้าใจจะนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในผู้สูงอายุ และปัจจัยภายนอก



ปัจจัยภายใน

1. ประวัติการล้ม การเคยมีประวัติการล้มมาก่อน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีประวัติการล้ม
2. อายุที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอุบัติการณ์ต่อการเกิดภาวะล้มในผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่ม
3. เพศ จากหลายงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเสี่ยงต่อภาวะล้มมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย 
4. การอาศัยอยู่คนเดียว การอาศัยอยู่คนเดียวในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และยังทำให้ผลกระทบต่อการล้มแย่มากขึ้นในผู้สูงอายุ
5. เชื้อชาติ จากการศึกษาบางฉบับพบว่าคนผิวขาวมักจะมีอุบัติการณ์ต่อภาวะล้มได้มากกว่า
6. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคทางด้านระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่นข้อสะโพก-ข้อเข่าเสื่อม โรคความดัน เบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง โรคทางระบบการหายใจ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็มักจะพบความเสี่ยงต่อการล้มได้เช่นกัน เนื่องจากความเร่งรีบเข้าห้องน้ำ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านระบบรับความรู้สึกสัมผัส เช่น ในผู้ป่วยอัมพาต หรือ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคที่บกพร่องด้านความคิดความจำ เช่น โรคกลุ่มสมองเสื่อม
7. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสภาพจิดใจ เช่น เครียด โรคซึมเศร้า
8. การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยากลุ่มยานอนหลับหรือคลายเครียด เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน Benzodiazepine


ยากลุ่มทางด้านจิตเวช (Psychotropics drugs)                                                                             9. ความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscle strength, muscle power, muscle endurance)


\


      ตามปกติแล้วความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ จะลดลงตามวัยหลังจากอายุ 30 ปี ซึ่งความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจะลด 10% ทุก 10 ปี และกำลังของกล้ามเนื้อจะลด 30 % ทุก 10 ปี ทั้งความแข็งแรง กำลังและความทนทานกล้ามเนื้อเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการป้องกันการล้ม ดังนั้น ควรได้รับการฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ

กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกำลังกล้ามเนื้อขา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการล้ม ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บกพร่องการเดิน บกร่องการทรงตัวในผู้สูงอายุ

10. ภาวะพร่องวิตามินดี
วิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เมื่อร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดด เป็นวิตามินที่มีบทบาทส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีบทบาทเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียม ภาวะพร่องวิตามินดีพบได้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่เคยทานยาสเตียรอยด์ ยาลดไขมันมาในระยะยาว และยังพบในคนที่มีพฤติกรรมเลี่ยงแสงแดดจนเกินไป ภาวะพร่องวิตามินดียังพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นวิตามินดีจึงเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับการล้มในผู้สูงอายุ
การป้องกันและแก้ไข ควรให้ร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าโดยที่ไม่ต้องทาครีมกันแดด การรับประทานอาหารจำพวกปลาทะเลและไข่ หรือในผู้ป่วย ผู้สูงอายุหากจะ
รับประทานวิตามินดีเสริมควรปรึกษาแพทย์1  
     11. ผู้ที่ปัญหาทางด้านสายตา  
     12. สภาพจิตใจ ปัญหาทางด้านความเครียด ความกลัวต่อการล้มในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุที่เคยล้ม และในผู้สูงอายุที่ไม่เคยล้ม ความเครียดและความกลัวต่อการล้มเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ ไม่อยากเดิน ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่เข้าสังคม ตรงนี้ยิ่งทำให้ร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเสื่อมถอยเร็วขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการล้ม สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายและฝึกฝนด้านการทารงตัว เพื่อที่จะได้ไม่วิตกมากเกินไป
1  13.  ปัญหาความผิดปกติของเท้า ผู้สูงอายุที่มีรูปเท้าผิดปกติ ทำให้การทรงตัวได้ไม่ดี เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น เลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ให้สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ผู้สูงอายุควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น
การผิดรูปของกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้การทรงตัวบกพร่อง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม


ปัจจัยจากภายนอก


1.      ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ วัสดุที่ใช้ปูพื้นมีความลื่น เช่น พื้นเซรามิค พื้นเปียกในห้องน้ำ การจัดวางสิ่งของในบ้านไม่เป็นระเบียบ สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน

2.      การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ หรือการใช้งานอุปกรณืช่วยเดินไม่ถูกต้อง

3.      การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม  รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น และสวมใส่สบาย

  

ผู้สูงอายุควรสวมรองเท้าหุ้มสุ้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น 
สภาพห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุ

การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน



#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น