กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง

กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง


ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ระยะแรกนั้นร่างกายจะเป็นอัมพาต หรืออ่อนแรง พบว่ามีทั้วกล้ามเนื้อบางส่วนที่มีกำลังเหลืออยู่และสามารถขยับเคลื่อนไหวให้เห็นได้ และบางส่วนที่ไม่สามารถขยับได้เลย หรือมีการทำงานหดตัวได้แต่แรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว 


แล้วจะรู้ได้อย่างไงว่าการเนื้อทำงาน ถ้าขยับไม่ได้?

ให้ใช้มือสัมผัสและบอกให้ผู้ป่วยออกแรง หรือ เคลื่อนไหว 
เช่น ไหนลองคิดว่าจะแตะขา จะงอเข่า จะแบมือ แล้วสัมผัสดูถ้าพบการหดตัว 
แสดงว่ายังมีการทำงาน


แล้วจะฝึกกายภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้เมื่อไหร่

สามารถฝึกกายภาพทันที ทั้งที่อยู่รพ. เมื่อการรักษาทางการแพทย์เสร็จแล้วในการแก้ไขและป้องกันภาวะหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หลังจากนั้นเมื่อกลับบ้าน ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกควรได้รับการฝึกกายภาพด้วยตนเองที่บ้านอย่างต่อเนื่องทันที เพราะในระยะ 3 เดือนแรก นี้ เป็นช่วงที่สมองที่ได้รับการกระทบเทือน สามารถฟื้นตัวได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการฝึกฝน และจะส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อและ
การทำงานของกล้ามเนื้อฟื้นฟูได้ดีที่สุดในระยะนี้ 




สมองต้องการการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง

เปรียบเทียบสมองก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิดโสตรก ก็เท่ากับ โปรแกรมรวน บางส่วนเสียหาย บางส่วนถูกลบหายไป


ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาตแล้ว ยังลืมว่าต้องเคลื่อนไหวยังไง
ถ้าไม่ได้รับการฝึก หรือการป้อนข้อมูลลงโปรกแกรมใหม่ที่ถูกต้อง ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจะเคลื่อนไหวแบบผิดๆ และเกิดการผิดรูปของร่างกายมากขึ้น

กายภาพบำบัดที่บ้านการฝึกพลิกตัว พลิกตะแคงบนเตียง
การฝึกกายภาพบำบัดที่บ้าน ในการพลิกตะแคงตัวบนเตียง เพราะว่า จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานของลำตัว สะโพกและขาข้างอ่อนแรง
ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยอัมพาตพลิกตะแคงตัวไปด้านแข็งแรงให้ได้ และฝึกท่ากายภาพบำบัดที่บ้านด้วยตนเอง บ่อยๆ ซ้ำ เพื่อกระตุ้นสมองและเพิ่มความแข็งแรงสำหรับข้างอัมพาต

ในช่วงแรก จะต้องมีการใช้แรงผู้อื่นช่วยนำและกระตุ้นให้เคลื่อนไหวให้ถูกต้อง ในช่วงเริ่มต้นฝึก ถ้าผู้ป่วยอัมพาตยังไม่สามารถงอขาได้ ก็ให้ฝึกช่วยงอขาซ้ำๆ ก่อน งอขาตั้งบนเตียงซ้ำๆ จากนั้นก็ฝึกพลิกตัว
มาดูตัวอย่างการฝึกกายภาพบำบัด ด้วยตนเองที่บ้าน ตามวีดีโอ นี้ค่ะ







#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 

กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน

การดูแลและกายภาพบำบัดที่บ้านในผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน

ในผู้สูงอายุมักเพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกมากขึ้น เพราะในผู้สูงอายุความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง หรือที่เรียกว่า ความหนาแน่นมวลกระดูก (bone mineral density) ดังนั้นเมื่อมีเจอแรงกระทำภายนอก เช่น แรงจากการสะเทือน แรงจากกระแทก จึงทำให้กระดูกหักได้ง่าย
การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ มักมีสาเหตุ มาจากการล้ม การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อย คือ การหักของกระดูกต้นแขน (humerus) การหักของกระดูกปลายแขน (forearm) การหักของกระดูกข้อมือ (wrist)

การดูแลและกายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน

ในช่วง 3 วันแรก การดูแลเพื่อป้องกันการยุบของเฝือก เนื่องจากเฝือกยังมีความชื้น การดูแลมีดังนี้
-         วางเฝือกบนวัสดุนิ่ม เช่น หมอน หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น พนักเก้าอี้
-         ประคองเฝือกในระหว่างการเคลื่อนย้าย
-         ห้ามใช้มือบีบหรือกดเฝือก
-         เฝือกควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่มปกคลุมเฝือก

กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ป่วยกระดูกแขนหัก ระยะใส่เฝือก

เป้าหมายกายภาพบำบัดที่บ้านในระยะใส่เฝือกนี้ คือ เพื่อลดอาการบวม อาการเจ็บปวด และปัญหาข้อติด

กายภาพบำบัดให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน ควรให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือกบ่อยๆเป็นประจำทั้งวัน ในผู้ป่วยที่ใส่เฝือกมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ดังนั้น ทำให้การไหลเวียนโลหิตลดลง กระตุ้นการบวมและการอักเสบนำมาซึ่งความเจ็บปวดได้ ดังนั้น เราจะต้องทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก เช่น การงอเหยียดนิ้วมือ การกำและแบมือ การกระดกข้อมือ และเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกแบบนิ่งๆ เกร็งและผ่อนคลายเป็นจังหวะ เช่น เกร็งกล้ามเนื้องอ-เหยียดศอก เพื่อช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิตที่แขน เพื่อลดหรือป้องกันอาการบวมให้ได้มากที่สุด



การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้าน เพื่อลดบวม ในผู้ป่วย

การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือกสามารถช่วยลดและป้องกันอาการบวมได้ ยกส่วนแขนให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ โดยใช้หมอนรอง ช่วยลดอาการบวม และในระหว่างที่มีการจัดท่าก็สามารถกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก เช่น กำแบมือ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมแดงส่วนอวัยวะที่อยู่นอกเฝือก ก็สามารถประคบเย็นร่วมด้วยได้ และประคบเย็นบนเฝือกได้ แต่ให้ระวังความเปียกชื้น โดยใช้แผ่นเจลประคบเย็นวางบนเฝือก

รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม

รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม (การบริหารมือระหว่างจัดท่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและลดบวมได้ดีขึ้น)


กายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่

การกายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อป้องกันข้อไหล่ยึดติดแข็ง (ยกเว้น ในบางรายผู้ป่วยจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหัวไหล่ประมาณ 3 อาทิตย์)
กายภาพบำบัดที่บ้านโดยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ในทุกทิศทาง โดยมีคนช่วยพยุงประคองจับทีเฝือก โดยประคองบริเวณต้นแขน และอีกมือหนึ่งที่ปลายแขน เคลื่อนไหวช้าๆ ในทิศทางกางแขน ยกแขน หมุนแขนเข้า และหมุนแขนออก ห้ามมีการดึงหรือกระชากส่วนแขน เน้นให้ผู้ป่วยออกแรงด้วยตัวเองโดยมีคนช่วยพยุง ในช่วงแรกที่บริหารอาจมีอาการตึงมาก ให้เริ่มจากขยับองศาที่ละน้อยๆและค่อยขยับไปมากขึ้น


รูปภาพจากเว็บ boneandspine.com
ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน นอกจากการใส่เฝือกยังจำกัดการเคลื่อนไหวของแขน ร่วมกับที่พยุงแขน (arm sling) ดังนั้น ควรใส่ตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน


ที่สำคัญ ในผู้สูงอายุที่ใส่เฝือกทำให้การเคลื่อนไหวตัวเองในชีวิตประจำวันได้ลดลง อาจจำเป็นต้องใช้ญาติหรือผู้ดูแลคอยช่วย ดังนั้น ในการช่วยพยุง ไม่ว่าจะเป็น พยุงพลิกตัว พยุงลุกขึ้นนั่ง พยุงลุกขึ้นยืน ห้ามดึงแขน หรือช้อนบริเวณใต้รักแร้ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเคลื่อนของกระดูกอย่างมาก
ท่ากายภาพบำบัดที่บ้านในการช่วยพยุงผู้ป่วย ที่ถูกต้องคือ จับบริเวณสะบักและสะโพกเมื่อต้อง

พลิกตัว การใช้เช็มขัดเพื่อพยุงยืน เป็นต้น


ข้อควรสังเกตในระยะใส่เฝือก

เมื่อสิ่งผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
-         อาการปวดบวมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง แม้มีการจัดท่ากายภาพบำบัดยกสูงและบริหารกล้ามเนื้อแล้ว นอกจากนี้สังเกตความผิดปกติของสีผิวส่วนปลาย
-         สีผิวข้างทีมีการใส่เฝือกเปลี่ยนแปลง เช่น ซีด หรือ มีสีคล้ำ มีอาการบวมมากขึ้น
-         มีอาการปวดมาก รู้สึกแสบหรือชา เหน็บมากขึ้นเรื่อยๆ
-         ไม่สามารถขยับนิ้วมือข้างที่ใส่เฝือกได้
-         พบเลือด หรือ น้ำหนอง ไหลซึมออกมาจากเฝือก มีกลิ่นเหม็น
-         ปลายมือข้างที่ใส่เฝือก ปวดบวมมาก ปลายมือซีดหรือสีคล้ำ และเย็น
-         คลำชีพจรได้ลดลง
-         เฝือกแตก หัก ร้าว เฝือกหลวมหรือคับจากเดิม

คำแนะนำในการดูแลเฝือกที่บ้าน

-         ห้ามให้เฝือกโดนน้ำ หรือสัมผัสความเปียกชื้น การอาบน้ำ ใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้หลายชั้น โดยในแต่ละขั้นให้มักปากถุงต่างระดับกัน เพื่อช่วยกันน้ำได้ดีขึ้น
-         ห้ามใช้วัตถุปลายแหลม หรือสิ่งของใดๆ แหย่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา เพราะจะทำให้ผิวภายในเฝือกถลอกเกิดอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย
-         เช็ดผิวหนังบริเวณขอบเฝือกให้แห้ง และสะอาด
-         ห้ามแกะ
-         ห้ามดึงสำลีหรือวัสดุเฝือกออก


#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 



กายภาพบำบัดที่บ้าน..โฮมพีที

การบริการ...กายภาพบำบัด ที่บ้าน..คืออะไร?



บริการทางกายภาพบำบัด ที่บ้านของผู้ป่วยเพื่อตรวจประเมินและบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย ได้แก่  กระดูก  กล้ามเนื้อ เอ็น และ   ข้อต่อต่างๆ  ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น...
อัมพฤกษ์  อัมพาต  หรือเด็กที่พิการทางสมอง

รวมทั้ง บริการให้คำปรึกษา แก้ไขภาวะการบาดเจ็บจาก.....     
การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ที่มีปัญหา ปวด ตึง เมื่อย ร้าว       กล้ามเนื้อ ข้อ เส้นเอ็น กระดูก...

-->

โทร. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

0ุ63-569-2624  ตั้งแต่ 8.00-24.00 น.
  

-->
ตึง ร้าว ปวด เมื่อย จากการทำงาน



เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ จะพบอาการปวด ตึง ร้าว เอว หลัง บ่า และคอ และอาจพบอาการปวดศรีษะ ร่วมด้วย
หรืองานที่ต้องใช้สรีระ ร่างกาย อวัยวะ แขนขา
เช่น ใส่รองเท้าส้นสูง เดิน หรือ ยืน นานๆ จะเกิดอาการปวด
ตึงได้ ตั้งแต่ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ข้อพับ ไปจนถึงสะโพกและก้นได้  เป็นต้น













-->
ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆ




จะพบอาการ ปวด ตึง ร้าว ตั้งแต่ นิ้วชี้ ข้อมือ แขน ข้อศอก ต้นแขน บ่า ไหล่ ไปจนถึง คอ และศรีษะ ได้














-->
ปวดหลัง-เอว จากภาวะตั้งครรภ์



ด้วยน้ำหนักทารกในครรภ์ มารดา รวมทั้งน้ำคร่ำ และน้ำหนักตัวของมารดาที่มากขึ้นตามตัวทารก จึงเกิดอาการ กดทับไปที่กระดูกสันหลัง เอว สะโพก ก้นกบ ต้นขา ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งบ่อยครั้ง พบว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 6 เดือน เป็นต้นไป จะเกิดอาการ เจ็บ ปวด ตึง เมื่อย อย่างมากได้










-->


บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเล่นกีฬา


-->

อัมพฤกษ์ อัมพาต และข้อเข่าเสื่อม
                                                                                        


อาการที่พบบ่อย ของผู้ป่วยสมองเสื่อม หรือพิการทางสมอง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในการ นั่ง ยืน เดิน กินอาหาร ผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต เหล่านี้ ล้วนต้องได้รับการบำบัด ฟื้นฟู อย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาใช้อวัยวะ ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ ลดภาระในการดูแล และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ที่ตนเองสามารถกลับมาใช้งานอวัยวะต่างๆ ได้บ้าง


                                                                                              
-->
เจ็บ ปวด เมื่อย ร้าว จากการออกกำลังกาย

เด็ก หรือผู้สูงอายุ สมองเสื่อม หรือพิการทางสมอง


เช่นเดียวกันกับ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต การบำบัด ฟื้นฟู ต้องอาสัยความต่อเนื่อง และอดทน อย่างยาวนาน เพื่อพัฒนา การเคลื่อนไหว ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อ ของอวัยวะ ส่วนต่าง ที่สมองต้องจดจำ และสั่งการ ซึ่งสมองส่วนที่เสื่อม นั้นๆ ลืมหน้าที่สำคัญต่างๆ ไปแล้ว




และถ้าเป็นในเด็กพิการทางสมอง ตั้งแต่ กำเนิด ก็ต้องใช้ความพยายามมากกว่า
เพื่อการพัฒนาการในการเคลื่อนไหวของเขา




สิ่งสำคัญ คือ เมื่อท่านพบปัญหา อย่านิ่งนอนใจ สอบถาม ขอคำแนะนำ 

และรีบทำการบำบัดรักษา ฟื้นฟู เสียแต่แรก อาการและภาวะเจ็บ ปวด ตึง ร้าว 

จะสามารถทุเลา และหายไปได้รวดเร็ว มากกว่า การปล่อยทิ้งไว้นานๆ

03 Mar 2011  By  Pt.Tan


#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที

กายภาพบำบัดที่บ้าน กายภาพบำบัดที่บ้านผู้ป้วยคืออะไร

กายภาพบำบัดที่บ้านผู้ป่วย..โฮมพีที

เกี่ยวกับการกายภาพบำบัดที่บ้าน กายภาพบำบัดที่บ้านคืออะไร

กายภาพบำบัดที่บ้าน ให้การรักษาเช่นเดียวกับการกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล หรือคลีนิค
บ่อยครั้งการเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือคลีนิค จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการเดินทางทั้งไปและกลับ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุก็ยิ่งไม่สะดวกในการเดินทางไปตามลำพัง จึงต้องอาศัยญาติผู้ดูแลในการพาไปทำกายภาพบำบัดอีกด้วย นอกจากนี้ปัญหาจากการเดินทางไปรักษายังกระทบต่อความเจ็บป่วยในบางกรณี เช่น ผู้สูงอายุที่มีปัญหากลุ่มโรคที่มีการกดทับเส้นประสาท การเดินทางเป็นระยะเวลานานและบ่อยๆ จะกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทมากขึ้น ทำให้ผลการรักษาทางกายภาพบำบัดด้อยลง หรือฟื้นฟูได้ช้า 

ดังนั้น กายภาพบำบัดที่บ้านผู้ป่วยจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ในการดูแลรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากปัญหาความเจ็บปวดต่างๆ หรือความบกพร่องต่างๆ ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ


นอกจากนี้ มักพบว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อเกร็ง ตึง ข้อต่อยึดติด ที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือกิจวัตรประจำวันที่บ้าน หรือสภาพแวดล้อมที่บ้าน โดยที่ผู้ป่วยมักไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่จริงแล้วมีผลสำคัญต่อการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือแม้กระทั้งการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ และการลดลงของสมรรถภาพร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุลดการทำกิจวัตรด้วยตนเอง ถ้าไม่รีบแก้ไขในการฝึกการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและปรับพฤติกรรม ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายผู้สูงอายุเสื่อมถอยรวดเร็วขึ้นนำไปสู่ปัญหาโรคต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย

นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต สิ่งสำคัญของผู้ป่วยผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ การให้การรักษาทางกายภาพบำบัด ที่ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติมากทีสุดเท่าที่จะทำได้ การกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่บ้านจึงจะต้องประยุกต์โปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและสมองส่วนที่เสียหายจะต้องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่บ้านที่ผู้ป่วยอยู่ รวมทั้งกิจววัตรของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและสมองมีการใช้งานที่ถูกต้องและมากที่สุด นอกจากยังพบว่า บ่อยครั้งนักกายภาพบำบัดเมื่อให้โปรแกรมการออกกำลังกายแก่ผู้ป่วยไปทำที่บ้าน แต่กลับได้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ มักมี สาเหตุมาจาก โปรแกรมการรักษา ผู้ป่วยไม่สามารถกลับไปทำได้เองที่บ้าน หรือ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมาะสมที่ส่งผลให้อาการของโรคไม่ดีขึ้นหรือบั่นทอนการฟื้นฟูผู้ป่วยนั่นเอง 



ดังนั้นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่บ้าน จำเป็นที่ต้องมีการประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้าน เพื่อให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่จะส่งผลต่อการฟื้นฟูตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย และออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่่บ้านที่เหมาะสมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันผู้ป่วย รวมทั้งการให้คำแนะนำในการปรับกิจวัตรประจำวันที่บ้านที่ส่งผลต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยให้ได้ผลที่สุด

แนวทางการรักษาการทำกายภาพบำบัดที่บ้าน

- นักกายภาพบำบัดซักประวัติผู้ป่วย จากผู้ป่วยและญาติ
- ทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย
- นักกายภาพให้คำวินิจฉัยโรคหรืออาการของผู้ป่วย วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการรักษา
- วางแผนการรักษาร่วมกันทั้ง นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และญาติ
- ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตามแนวทางที่วางแผนร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพและความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่สุด
- การตรวจประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา
- การติดตามผลการรักษา

#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 





ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุและการป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ

การล้มในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่พบได้ง่าย การล้มนำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งปัญหาด้านสภาพร่างกาย และจิตใจ จนนำไปสู้ปัญหาเรื้อรัง คือ ภาวะกลัวการล้มจนไม่อยากจะทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ลดการเข้าสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่ลดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรที่จะทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะล้ม

การล้มในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ 
ความเข้าใจจะนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในผู้สูงอายุ และปัจจัยภายนอก



ปัจจัยภายใน

1. ประวัติการล้ม การเคยมีประวัติการล้มมาก่อน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีประวัติการล้ม
2. อายุที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอุบัติการณ์ต่อการเกิดภาวะล้มในผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่ม
3. เพศ จากหลายงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเสี่ยงต่อภาวะล้มมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย 
4. การอาศัยอยู่คนเดียว การอาศัยอยู่คนเดียวในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และยังทำให้ผลกระทบต่อการล้มแย่มากขึ้นในผู้สูงอายุ
5. เชื้อชาติ จากการศึกษาบางฉบับพบว่าคนผิวขาวมักจะมีอุบัติการณ์ต่อภาวะล้มได้มากกว่า
6. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคทางด้านระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่นข้อสะโพก-ข้อเข่าเสื่อม โรคความดัน เบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง โรคทางระบบการหายใจ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็มักจะพบความเสี่ยงต่อการล้มได้เช่นกัน เนื่องจากความเร่งรีบเข้าห้องน้ำ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านระบบรับความรู้สึกสัมผัส เช่น ในผู้ป่วยอัมพาต หรือ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคที่บกพร่องด้านความคิดความจำ เช่น โรคกลุ่มสมองเสื่อม
7. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสภาพจิดใจ เช่น เครียด โรคซึมเศร้า
8. การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยากลุ่มยานอนหลับหรือคลายเครียด เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน Benzodiazepine


ยากลุ่มทางด้านจิตเวช (Psychotropics drugs)                                                                             9. ความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscle strength, muscle power, muscle endurance)


\


      ตามปกติแล้วความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ จะลดลงตามวัยหลังจากอายุ 30 ปี ซึ่งความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจะลด 10% ทุก 10 ปี และกำลังของกล้ามเนื้อจะลด 30 % ทุก 10 ปี ทั้งความแข็งแรง กำลังและความทนทานกล้ามเนื้อเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการป้องกันการล้ม ดังนั้น ควรได้รับการฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ

กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกำลังกล้ามเนื้อขา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการล้ม ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บกพร่องการเดิน บกร่องการทรงตัวในผู้สูงอายุ

10. ภาวะพร่องวิตามินดี
วิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เมื่อร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดด เป็นวิตามินที่มีบทบาทส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีบทบาทเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียม ภาวะพร่องวิตามินดีพบได้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่เคยทานยาสเตียรอยด์ ยาลดไขมันมาในระยะยาว และยังพบในคนที่มีพฤติกรรมเลี่ยงแสงแดดจนเกินไป ภาวะพร่องวิตามินดียังพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นวิตามินดีจึงเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับการล้มในผู้สูงอายุ
การป้องกันและแก้ไข ควรให้ร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าโดยที่ไม่ต้องทาครีมกันแดด การรับประทานอาหารจำพวกปลาทะเลและไข่ หรือในผู้ป่วย ผู้สูงอายุหากจะ
รับประทานวิตามินดีเสริมควรปรึกษาแพทย์1  
     11. ผู้ที่ปัญหาทางด้านสายตา  
     12. สภาพจิตใจ ปัญหาทางด้านความเครียด ความกลัวต่อการล้มในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุที่เคยล้ม และในผู้สูงอายุที่ไม่เคยล้ม ความเครียดและความกลัวต่อการล้มเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ ไม่อยากเดิน ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่เข้าสังคม ตรงนี้ยิ่งทำให้ร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเสื่อมถอยเร็วขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการล้ม สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายและฝึกฝนด้านการทารงตัว เพื่อที่จะได้ไม่วิตกมากเกินไป
1  13.  ปัญหาความผิดปกติของเท้า ผู้สูงอายุที่มีรูปเท้าผิดปกติ ทำให้การทรงตัวได้ไม่ดี เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น เลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ให้สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ผู้สูงอายุควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น
การผิดรูปของกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้การทรงตัวบกพร่อง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม


ปัจจัยจากภายนอก


1.      ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ วัสดุที่ใช้ปูพื้นมีความลื่น เช่น พื้นเซรามิค พื้นเปียกในห้องน้ำ การจัดวางสิ่งของในบ้านไม่เป็นระเบียบ สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน

2.      การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ หรือการใช้งานอุปกรณืช่วยเดินไม่ถูกต้อง

3.      การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม  รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น และสวมใส่สบาย

  

ผู้สูงอายุควรสวมรองเท้าหุ้มสุ้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น 
สภาพห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุ

การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน



#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 




ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย

ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย


ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย คือ การนั่งตัวตรง สะโพกและหลังอยู่ชิดกับพนักหลังของเก้าอี้




ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านข้าง: 

เชิงกรานตั้งตรง ข้อสะโพกงอใกล้เคียง 90 องศา ข้อเข่าและข้อเท้างอใกล้เคียง 90 องศา เท้าวางราบกับที่วางเท้า  ส้นเท้าอยู่ในแนวเดียวกันกับเข่า หรืออยู่ด้านหน้าเล็กน้อย
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วยเมื่อมองจากด้านข้าง


ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านหน้า: 

เชิงกรานทั้ง 2 ข้างอยู่ในระดับเสมอกัน ไหล่ทั้ง 2 ข้างเสมอกัน วางบนพนักที่วางแขนหรือบนหมอน สำหรับในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง ควรที่จะต้องได้รับการจัดท่าแขนข้างอ่อนแรงเป็นพิเศษเพราะนอกจากอ่อนแรงยังมีปัญหากล้างเนื้อเกร็งตัว ดังนั้น ต้องหาหมอนมารองแล้วให้แขนอยู่ในวางคว่ำราบ งอศอก แขนไม่บิดหมุน ให้ผู้ป่วยหมั่นใช้มือข้างปกติคอยจับนิ้วมือข้างอัมพาตให้เหยียดออกวางคว่ำราบ หรืออาจจะใช้มือประสานกันเพื่อลดอาการเกร็งของมือข้างอัมพาต

เบาะรองให้เสมอพอดีกับที่วางแขนของรถเข็น หรือรถเข็นที่สามารถถอดออกได้ สามารถหาโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็นมาใช้ และวางแขนไว้บนโต๊ะ  
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย
ภาพโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็น

ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย


ประโยชน์ของการนั่งตัวตรงในผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นสุขภาพ:

            เมื่อนั่งตัวตรง ระบบย่อยอาหารและระบบการหายใจ การขยายตัวของซี่โครงและปอดของผู้ป่วยจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ความมั่นคง:

            ท่านั่งตัวตรง ช่วยให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น

การกระจายของน้ำหนัก:

            เมื่อนั่งตัวตรงน้ำหนักของร่างกายที่ตก ณ ที่ฐานที่นั่ง จะกระจายสม่ำเสมอเท่าๆกัน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย

ป้องกันปัญหาด้านระบบกระดูก-กล้ามเนื้อ:

            การนั่งตัวตรง จะทำให้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายมีความยาวกล้ามเนื้อที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดปัญหากล้ามเนื้อและข้อต่อยึดติด ปัญหากล้ามเนื้อยึดและข้อต่อยึดติด ผิดรูปนั้น นอกจากจะนำไปสู่ปัญหาการเสียบุคลิกภาพในผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่ดี นำไปสู่ความเจ็บปวดเรื้อรังเกิดขึ้นได้

ลักษณะเชิงกรานที่ถูกต้อง เมื่อนั่งถูกวิธี

ลักษณะท่านั่งที่ผิดในผู้ป่วยเป็นอย่างไร

เชิงกรานเป็นตัวแปรสำคัญ ท่าเชิงกรานอยู่ในลักษณะที่ผิดก็จะส่งผลไปยังกระดูกสันหลัง ลักษณะไหล่ และสะโพกที่ผิดไปด้วย 

การนั่งผิดปกติก็จะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงความยาวกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ รวมทั้งเกิดแรงกดต่อข้อต่อต่างๆ จนนำไปสู่ปัญหาความเจ็บปวดหรือการผิดรูปตามมาได้ ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายที่ยากขึ้นในผู้ป่วย  

"ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาตามมาอีกมากมายควรนั่งให้ถูกวิธีนะคะ"

ท่านั่งบนรถเข็นที่ผิด
                 
ลักษณะกระดูกเชิงกรานเมื่อนั่งผิดท่าทาง
ลักษณะกระดูกเชิงกราน เมื่อนั่งผิดท่าทาง คือ นั่งตัวเอียง

ลักษณะเชิงกราน เมื่อน้่งผิดท่าทาง คือ นั่งสะโพกไม่ชิดเสมอกันทั้ง 2 ข้าง

#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที