ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย

ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย


ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย คือ การนั่งตัวตรง สะโพกและหลังอยู่ชิดกับพนักหลังของเก้าอี้




ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านข้าง: 

เชิงกรานตั้งตรง ข้อสะโพกงอใกล้เคียง 90 องศา ข้อเข่าและข้อเท้างอใกล้เคียง 90 องศา เท้าวางราบกับที่วางเท้า  ส้นเท้าอยู่ในแนวเดียวกันกับเข่า หรืออยู่ด้านหน้าเล็กน้อย
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วยเมื่อมองจากด้านข้าง


ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านหน้า: 

เชิงกรานทั้ง 2 ข้างอยู่ในระดับเสมอกัน ไหล่ทั้ง 2 ข้างเสมอกัน วางบนพนักที่วางแขนหรือบนหมอน สำหรับในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง ควรที่จะต้องได้รับการจัดท่าแขนข้างอ่อนแรงเป็นพิเศษเพราะนอกจากอ่อนแรงยังมีปัญหากล้างเนื้อเกร็งตัว ดังนั้น ต้องหาหมอนมารองแล้วให้แขนอยู่ในวางคว่ำราบ งอศอก แขนไม่บิดหมุน ให้ผู้ป่วยหมั่นใช้มือข้างปกติคอยจับนิ้วมือข้างอัมพาตให้เหยียดออกวางคว่ำราบ หรืออาจจะใช้มือประสานกันเพื่อลดอาการเกร็งของมือข้างอัมพาต

เบาะรองให้เสมอพอดีกับที่วางแขนของรถเข็น หรือรถเข็นที่สามารถถอดออกได้ สามารถหาโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็นมาใช้ และวางแขนไว้บนโต๊ะ  
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย
ภาพโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็น

ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย


ประโยชน์ของการนั่งตัวตรงในผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นสุขภาพ:

            เมื่อนั่งตัวตรง ระบบย่อยอาหารและระบบการหายใจ การขยายตัวของซี่โครงและปอดของผู้ป่วยจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ความมั่นคง:

            ท่านั่งตัวตรง ช่วยให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น

การกระจายของน้ำหนัก:

            เมื่อนั่งตัวตรงน้ำหนักของร่างกายที่ตก ณ ที่ฐานที่นั่ง จะกระจายสม่ำเสมอเท่าๆกัน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย

ป้องกันปัญหาด้านระบบกระดูก-กล้ามเนื้อ:

            การนั่งตัวตรง จะทำให้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายมีความยาวกล้ามเนื้อที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดปัญหากล้ามเนื้อและข้อต่อยึดติด ปัญหากล้ามเนื้อยึดและข้อต่อยึดติด ผิดรูปนั้น นอกจากจะนำไปสู่ปัญหาการเสียบุคลิกภาพในผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่ดี นำไปสู่ความเจ็บปวดเรื้อรังเกิดขึ้นได้

ลักษณะเชิงกรานที่ถูกต้อง เมื่อนั่งถูกวิธี

ลักษณะท่านั่งที่ผิดในผู้ป่วยเป็นอย่างไร

เชิงกรานเป็นตัวแปรสำคัญ ท่าเชิงกรานอยู่ในลักษณะที่ผิดก็จะส่งผลไปยังกระดูกสันหลัง ลักษณะไหล่ และสะโพกที่ผิดไปด้วย 

การนั่งผิดปกติก็จะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงความยาวกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ รวมทั้งเกิดแรงกดต่อข้อต่อต่างๆ จนนำไปสู่ปัญหาความเจ็บปวดหรือการผิดรูปตามมาได้ ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายที่ยากขึ้นในผู้ป่วย  

"ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาตามมาอีกมากมายควรนั่งให้ถูกวิธีนะคะ"

ท่านั่งบนรถเข็นที่ผิด
                 
ลักษณะกระดูกเชิงกรานเมื่อนั่งผิดท่าทาง
ลักษณะกระดูกเชิงกราน เมื่อนั่งผิดท่าทาง คือ นั่งตัวเอียง

ลักษณะเชิงกราน เมื่อน้่งผิดท่าทาง คือ นั่งสะโพกไม่ชิดเสมอกันทั้ง 2 ข้าง

#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น