การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน
เนื่องจากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและอายุ
ที่ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างไม่สะดวกเหมือนคนปกติ ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้านนั้น
จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความสะดวกสบาย
ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน
การจัดสภาพห้องนอนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน
สภาพห้องนอน ควรจัดวางโต๊ะและเฟอร์นิเจอร์ให้ชิดผนัง หรือไม่กีดขวางทางเดินของผู้ป่วย
ไม่มีสิ่งกีดขวางเช่น สายไฟ ปลั๊กไปบนพื้น แสงไฟในห้องอยู่ในมุมที่เปิดง่าย
และควรมีโคมไฟอยู่ ณ บริเวณใกล้หัวเตียง
เพื่อที่เวลากลางคืนเมื่อผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกขึ้นมาเพื่อเข้าห้องน้ำจะได้เปิดไฟได้สะดวก
และอาจจะมีปุ่มกดเรียกฉุกเฉินอยู่ใกล้ๆ
สำหรับผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายตัวไปห้องน้ำไม่สะดวก
ก็อาจจะหาเก้าอี้นั่งถ่ายมาไว้ที่ห้องนอน (commode chair)
เตียงนอน
เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน ควรมีความสูงเท่ากับความสูงของเก้าอี้ล้อเข็น
หรือสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร เตียงที่สูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยขึ้นเตียงลำบาก แต่ถ้าเตียงต่ำเกินไปจะทำให้ลุกขึ้นยืนยาก
และมีอุปกรณ์เสริมสำหรับการช่วยพยุงตัวลุกจากเตียง(รูปที่ 1-2) และอุปกรณ์เสริมสำหรับการช่วยเคลื่อนย้ายตัว คือ แผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) ระหว่างเตียงกับรถเข็นเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ง่าย หรือผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ง่ายขึ้น (รูปที่ 3)
รูปที่ 1 อุปกรณ์เสริมราวจับสำหรับพยุงตัวบนเตียง
รูปที่ 2 การใช้อุปกรณ์เสริมราวจับสำหรับพยุงตัวบนเตียงในผู้ป่วยอัมพาตซีกขวา หรือในผู้สูงอายุ |
รูปที่ 3 การเคลื่อนย้ายผู้ป้วยโดยใช้แผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) |
การจัดสภาพห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน
ห้องน้ำควรมีพื้นที่กว้างพอที่รถเข็นผู้ป่วยสามารถเข้าไปได้ (มากกว่า
1.5 x 1.5 ตารางเมตร) ประตูทางเข้ากว้างไม่ต่ำกว่า 81.5 เซนติเมตรขึ้นไป
และติดตั้งราวจับภายในห้องน้ำ ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 85–90 เซนติเมตร
(33 – 36 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวเกาะที่เหมาะสมประมาณ 3.2
- 5.1 เซนติเมตร ( 1.25 – 2 นิ้ว)
และควรติดให้ยื่นห่างจากผนังมากกว่า 3.8 เซนติเมตร ( 1.5 นิ้ว ) และอาจมีแผ่นยางกันลื่นบริเวณที่ต้องอาบน้ำ
และใช้เก้าอี้นั่งสำหรับอาบน้ำ (รูป 4-6)
รูปที่ 4 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย |
รูปที่ 5 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย |
รูปที่ 6 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย |
โถส้วม
ควรเป็นแบบชักโครก ความสูงที่เหมาะสมของโถส้วมจะอยู่ที่ประมาณ 43
– 48 เซนติเมตร (17 – 19 นิ้ว) จากพื้น เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกจากโถได้สะดวก
ถ้าชักโครกต่ำเกินไป ควรทำยกพื้นขึ้นมาใต้โถส้วม (รูปที่ 4) หรือหาแผ่นเสริมความสูงโถส้วม
และมีราวจับบริเวณโถส้วม
ราวจับที่โถส้วมนั้นมีถังติดที่ผนังห้องน้ำ (รูปที่ 7-8) หรือประยุกต์ใช้ที่ช่วยเดิน
หรือวอล์กเกอร์
(
walker)
มาติดกับพื้นห้องน้ำ (รูปที่ 9)
และสามารถใช้อุปกรณ์เสริมแผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) ระหว่างรถเข็นมาโถส้วมหรือที่นั่งอาบน้ำ (รูปที่ 10)
รูปที่ 7 การติดราวจับกับผนังห้องน้ำ บริเวณโภส้วมสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ |
รูปที่ 8 โถส้วมปรับเสริมความสูงที่นั่งสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ |
รูปที่ 9 การประยุกต์ใช้ที่ช่วยเดินหรือวอล์กเกอร์
( walker) มาติดกับพื้นห้องน้ำ
|
รูปที่ 10 อุปกรณ์เสริมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างรถเข็นมาโถส้วม |
อุปกรณ์เสริมอื่นๆ
-
ทางลาด สำหรับวาง ณ
บริเวณพื้นต่างระดับ เพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นสะดวก (รูปที่ 11)
รูปที่ 11 อุปกรณ์เสริมทางลาด |
#กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน #การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น