ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุและการป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ

การล้มในผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่พบได้ง่าย การล้มนำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งปัญหาด้านสภาพร่างกาย และจิตใจ จนนำไปสู้ปัญหาเรื้อรัง คือ ภาวะกลัวการล้มจนไม่อยากจะทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ลดการเข้าสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่ลดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรที่จะทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะล้ม

การล้มในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้ 
ความเข้าใจจะนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในผู้สูงอายุ และปัจจัยภายนอก



ปัจจัยภายใน

1. ประวัติการล้ม การเคยมีประวัติการล้มมาก่อน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีประวัติการล้ม
2. อายุที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอุบัติการณ์ต่อการเกิดภาวะล้มในผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่ม
3. เพศ จากหลายงานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงจะเสี่ยงต่อภาวะล้มมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย 
4. การอาศัยอยู่คนเดียว การอาศัยอยู่คนเดียวในผู้สูงอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น และยังทำให้ผลกระทบต่อการล้มแย่มากขึ้นในผู้สูงอายุ
5. เชื้อชาติ จากการศึกษาบางฉบับพบว่าคนผิวขาวมักจะมีอุบัติการณ์ต่อภาวะล้มได้มากกว่า
6. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคทางด้านระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่นข้อสะโพก-ข้อเข่าเสื่อม โรคความดัน เบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง โรคทางระบบการหายใจ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็มักจะพบความเสี่ยงต่อการล้มได้เช่นกัน เนื่องจากความเร่งรีบเข้าห้องน้ำ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านระบบรับความรู้สึกสัมผัส เช่น ในผู้ป่วยอัมพาต หรือ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคที่บกพร่องด้านความคิดความจำ เช่น โรคกลุ่มสมองเสื่อม
7. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสภาพจิดใจ เช่น เครียด โรคซึมเศร้า
8. การใช้ยาบางชนิด

การใช้ยากลุ่มยานอนหลับหรือคลายเครียด เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน Benzodiazepine


ยากลุ่มทางด้านจิตเวช (Psychotropics drugs)                                                                             9. ความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscle strength, muscle power, muscle endurance)


\


      ตามปกติแล้วความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ จะลดลงตามวัยหลังจากอายุ 30 ปี ซึ่งความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจะลด 10% ทุก 10 ปี และกำลังของกล้ามเนื้อจะลด 30 % ทุก 10 ปี ทั้งความแข็งแรง กำลังและความทนทานกล้ามเนื้อเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการป้องกันการล้ม ดังนั้น ควรได้รับการฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ

กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง โดยเฉพาะการอ่อนแรงของกำลังกล้ามเนื้อขา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการล้ม ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทำให้บกพร่องการเดิน บกร่องการทรงตัวในผู้สูงอายุ

10. ภาวะพร่องวิตามินดี
วิตามินดี ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เมื่อร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดด เป็นวิตามินที่มีบทบาทส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีบทบาทเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียม ภาวะพร่องวิตามินดีพบได้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตับโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยที่เคยทานยาสเตียรอยด์ ยาลดไขมันมาในระยะยาว และยังพบในคนที่มีพฤติกรรมเลี่ยงแสงแดดจนเกินไป ภาวะพร่องวิตามินดียังพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ดังนั้นวิตามินดีจึงเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับการล้มในผู้สูงอายุ
การป้องกันและแก้ไข ควรให้ร่างกายได้สัมผัสกับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าโดยที่ไม่ต้องทาครีมกันแดด การรับประทานอาหารจำพวกปลาทะเลและไข่ หรือในผู้ป่วย ผู้สูงอายุหากจะ
รับประทานวิตามินดีเสริมควรปรึกษาแพทย์1  
     11. ผู้ที่ปัญหาทางด้านสายตา  
     12. สภาพจิตใจ ปัญหาทางด้านความเครียด ความกลัวต่อการล้มในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้สูงอายุที่เคยล้ม และในผู้สูงอายุที่ไม่เคยล้ม ความเครียดและความกลัวต่อการล้มเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ ไม่อยากเดิน ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่เข้าสังคม ตรงนี้ยิ่งทำให้ร่างกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเสื่อมถอยเร็วขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการล้ม สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายและฝึกฝนด้านการทารงตัว เพื่อที่จะได้ไม่วิตกมากเกินไป
1  13.  ปัญหาความผิดปกติของเท้า ผู้สูงอายุที่มีรูปเท้าผิดปกติ ทำให้การทรงตัวได้ไม่ดี เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการล้มมากขึ้น ดังนั้น เลี่ยงการเดินเท้าเปล่า ให้สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ผู้สูงอายุควรสวมใส่รองเท้าหุ้มส้น
การผิดรูปของกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้การทรงตัวบกพร่อง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม


ปัจจัยจากภายนอก


1.      ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ วัสดุที่ใช้ปูพื้นมีความลื่น เช่น พื้นเซรามิค พื้นเปียกในห้องน้ำ การจัดวางสิ่งของในบ้านไม่เป็นระเบียบ สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน

2.      การใช้อุปกรณ์ช่วยเดินที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ หรือการใช้งานอุปกรณืช่วยเดินไม่ถูกต้อง

3.      การสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม  รองเท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น และสวมใส่สบาย

  

ผู้สูงอายุควรสวมรองเท้าหุ้มสุ้น ส้นเตี้ย พื้นรองเท้ากันลื่น 
สภาพห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุ

การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน



#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 




ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย

ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย


ท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย คือ การนั่งตัวตรง สะโพกและหลังอยู่ชิดกับพนักหลังของเก้าอี้




ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านข้าง: 

เชิงกรานตั้งตรง ข้อสะโพกงอใกล้เคียง 90 องศา ข้อเข่าและข้อเท้างอใกล้เคียง 90 องศา เท้าวางราบกับที่วางเท้า  ส้นเท้าอยู่ในแนวเดียวกันกับเข่า หรืออยู่ด้านหน้าเล็กน้อย
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วยเมื่อมองจากด้านข้าง


ท่านั่งของผู้ป่วยที่ถูกต้องเมื่อมองจากด้านหน้า: 

เชิงกรานทั้ง 2 ข้างอยู่ในระดับเสมอกัน ไหล่ทั้ง 2 ข้างเสมอกัน วางบนพนักที่วางแขนหรือบนหมอน สำหรับในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง ควรที่จะต้องได้รับการจัดท่าแขนข้างอ่อนแรงเป็นพิเศษเพราะนอกจากอ่อนแรงยังมีปัญหากล้างเนื้อเกร็งตัว ดังนั้น ต้องหาหมอนมารองแล้วให้แขนอยู่ในวางคว่ำราบ งอศอก แขนไม่บิดหมุน ให้ผู้ป่วยหมั่นใช้มือข้างปกติคอยจับนิ้วมือข้างอัมพาตให้เหยียดออกวางคว่ำราบ หรืออาจจะใช้มือประสานกันเพื่อลดอาการเกร็งของมือข้างอัมพาต

เบาะรองให้เสมอพอดีกับที่วางแขนของรถเข็น หรือรถเข็นที่สามารถถอดออกได้ สามารถหาโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็นมาใช้ และวางแขนไว้บนโต๊ะ  
ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย
ภาพโต๊ะอาหารสำหรับยึดกับรถเข็น

ภาพท่านั่งบนรถเข็นที่ถูกต้องในผู้ป่วย


ประโยชน์ของการนั่งตัวตรงในผู้ป่วยที่ใช้รถเข็นสุขภาพ:

            เมื่อนั่งตัวตรง ระบบย่อยอาหารและระบบการหายใจ การขยายตัวของซี่โครงและปอดของผู้ป่วยจะทำงานได้มีประสิทธิภาพ

ความมั่นคง:

            ท่านั่งตัวตรง ช่วยให้เกิดความมั่นคงมากขึ้น

การกระจายของน้ำหนัก:

            เมื่อนั่งตัวตรงน้ำหนักของร่างกายที่ตก ณ ที่ฐานที่นั่ง จะกระจายสม่ำเสมอเท่าๆกัน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วย

ป้องกันปัญหาด้านระบบกระดูก-กล้ามเนื้อ:

            การนั่งตัวตรง จะทำให้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายมีความยาวกล้ามเนื้อที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดปัญหากล้ามเนื้อและข้อต่อยึดติด ปัญหากล้ามเนื้อยึดและข้อต่อยึดติด ผิดรูปนั้น นอกจากจะนำไปสู่ปัญหาการเสียบุคลิกภาพในผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่ดี นำไปสู่ความเจ็บปวดเรื้อรังเกิดขึ้นได้

ลักษณะเชิงกรานที่ถูกต้อง เมื่อนั่งถูกวิธี

ลักษณะท่านั่งที่ผิดในผู้ป่วยเป็นอย่างไร

เชิงกรานเป็นตัวแปรสำคัญ ท่าเชิงกรานอยู่ในลักษณะที่ผิดก็จะส่งผลไปยังกระดูกสันหลัง ลักษณะไหล่ และสะโพกที่ผิดไปด้วย 

การนั่งผิดปกติก็จะส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงความยาวกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ รวมทั้งเกิดแรงกดต่อข้อต่อต่างๆ จนนำไปสู่ปัญหาความเจ็บปวดหรือการผิดรูปตามมาได้ ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายที่ยากขึ้นในผู้ป่วย  

"ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาตามมาอีกมากมายควรนั่งให้ถูกวิธีนะคะ"

ท่านั่งบนรถเข็นที่ผิด
                 
ลักษณะกระดูกเชิงกรานเมื่อนั่งผิดท่าทาง
ลักษณะกระดูกเชิงกราน เมื่อนั่งผิดท่าทาง คือ นั่งตัวเอียง

ลักษณะเชิงกราน เมื่อน้่งผิดท่าทาง คือ นั่งสะโพกไม่ชิดเสมอกันทั้ง 2 ข้าง

#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 







การป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ด้วยตนเองที่บ้าน

การป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

ด้วยตนเองที่บ้าน


  โภชนาการ

ผู้สูงอายุควรรับประทานทั้งผักใบเขียวและผักที่มีสีสัน หลากหลายชนิดหมุนเวียนกันไป รัปประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
อาหารธรรมชาติที่มีโอไมก้าสาม สูง เช่น ปลาทะเล ธัญพืชต่างๆ ผักใบเขียว น้ำมันจากพืชบางชนิดเช่น น้ำมันดอกคาโนล่า 
โอเมก้า 3 ทั้งจากในปลาและในพืชจะมีรูปแบบแตกต่างกัน ดังนั้นควรได้รับจากแหล่งทั้ง 2 อย่าง 

ปลา

ปลาที่มีโอไมก้าสามสูง บางคนคนนึกถึงปลาแซลมอน แต่จริงแล้วปลาบ้านเราก็มีโอไมก้าสามสูงไม้แพ้ปลาแซลมอน รสชาติอร่อย นำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนูอาหารไทย ได้แก่ ปลาสำลี ปลาทู ปลากระพงขาว ปลาทู ปลาเก๋า ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล 


ธัญพืช

ธัญพืชที่เป็นแหล่งของโอไมก้าสาม ได้แก่ เมล็ดแฟลกซ์ ถั่ววอลนัท ถั่วอัลมอนด์ ถั่วแระ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง จมูกข้าว รำข้าว 


ผลไม้

ผลไม้ที่มีประโยขน์ อุดมไปด้วยวิตามิน ผลไม้ที่ช่วยบำรุงสมองและเหมาะกับผู้สูงอายุ คือ ผลไม้รสเปรี้ยว ได้แก่ ผลไม้ตะกูลเบอรี่ต่างๆ ทแอปเปิ้ล สับปะรด


ผัก

จำพวกผักใบเขียวต่าง รวมทั้งผักที่มีสีสันอุดมไปด้วยแบต้าแคโรทีน เช่น มะเขือเทศ แครอท ฟักทอง

ดังนั้นเพื่อที่จะได้รับปริมาณโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ เพียงรับประทานปลาที่ไม่ป่นการทอด สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  (คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 226 – 340 กรัมต่อสัปดาห์) และรับประทานข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช และผักใบเขียว เพียงเท่านี้ก็ได้รับปริมาณโอไมก้า 3 ที่เพียงพอแล้วในผู้สูงอายุ 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คืออาหารไขมันอิ่มตัวจากพืช เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันพืช หลีกเลี่ยงพวกเนยเทียม มาการีน ของมัน ของทอด เนื้อติดมันงดดื่มแอลกอฮอล์
อาหารที่ควรรับประทานในผู้สูงอายุ เพื่อชะลอและป้องกันภาวะสมองเสื่อม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งแอลกอฮอล์

   

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การกลุ่มคนที่มีการออกกำลังแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ พบว่า เสี่ยงที่จะเป็นดรคกลุ่มสมองเสื่อมน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย การออกกำลังการออกกำลังแบบแอโรบิค คือ การขยับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน อย่างน้อย 30 นาที ส่วนสำหรับผู้สูงอายุ ควรออกกำลังเบาๆ โดยอาจจะเริ่มออกกำลังร่างกายอย่างน้อย 15 นาที เบื้องต้น แล้วค่อยปรับเพิ่มตามสภาพร่างกายและการฝึกฝน




   การทำกิจกรรมที่ฝึกสมอง

กิจกรรมที่ฝึกสมองได้ในผู้สูงอายุ คือ การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การเล่นหมากกระดาน การทำงานประดิษฐ์  การเล่นปริศนาอักษรไขว้ นอกจากนี้ยังมีการทำกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับสังคมเป็นประจำ แต่การที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่กับบ้านเฉย แล้วใช้เวลามากในการนอนหรือดูทีวี อันนี้จะทำให้สมองไม่ได้รับการฝึกฝนด้านการเรียนรู้ ทำให้มีโอกาสสมองเสื่อมไวขึ้นได้


   


   การทำสมาธิและโยคะในผู้สูงอายุ

มีงานวิจัยจากต่างๆประเทศ ได้ศึกษาพบว่า การทำสมาธิและโยคะ สามารถช่วยลดปัญหาด้านความคิดการเรียนรู้ รวมทั้งปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ ที่มักจะเป็นปัญหาในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ แต่ทั้งนี้ศึกษาในกลุ่มที่เริ่มอัลไซเมอร์ระยะต้นๆ ส่วนปะโยชน์ในการฝึกสมาธิก็เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วยชะลอความเสื่อมต่างๆของร่างกาย ดังนั้นก็สามารถที่จะฝึกสมาธิในผู้สูงอายุที่ยังไม่มีอาการสมองเสื่อม ก็จะเป็นแนวทางการป้องกันที่ดี


#กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน  #การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน #การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที



การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน


การจัดสภาพบ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน


เนื่องจากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและอายุ ที่ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างไม่สะดวกเหมือนคนปกติ ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้านนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความสะดวกสบาย ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน

การจัดสภาพห้องนอนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน

สภาพห้องนอน ควรจัดวางโต๊ะและเฟอร์นิเจอร์ให้ชิดผนัง หรือไม่กีดขวางทางเดินของผู้ป่วย ไม่มีสิ่งกีดขวางเช่น สายไฟ ปลั๊กไปบนพื้น แสงไฟในห้องอยู่ในมุมที่เปิดง่าย และควรมีโคมไฟอยู่ ณ บริเวณใกล้หัวเตียง เพื่อที่เวลากลางคืนเมื่อผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุลุกขึ้นมาเพื่อเข้าห้องน้ำจะได้เปิดไฟได้สะดวก และอาจจะมีปุ่มกดเรียกฉุกเฉินอยู่ใกล้ๆ
สำหรับผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายตัวไปห้องน้ำไม่สะดวก ก็อาจจะหาเก้าอี้นั่งถ่ายมาไว้ที่ห้องนอน (commode chair) 

เตียงนอน

เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน ควรมีความสูงเท่ากับความสูงของเก้าอี้ล้อเข็น หรือสูงประมาณ 45 – 50 เซนติเมตร เตียงที่สูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยขึ้นเตียงลำบาก แต่ถ้าเตียงต่ำเกินไปจะทำให้ลุกขึ้นยืนยาก
และมีอุปกรณ์เสริมสำหรับการช่วยพยุงตัวลุกจากเตียง(รูปที่ 1-2) และอุปกรณ์เสริมสำหรับการช่วยเคลื่อนย้ายตัว คือ แผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) ระหว่างเตียงกับรถเข็นเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ง่าย หรือผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ง่ายขึ้น (รูปที่ 3)

รูปที่ 1 อุปกรณ์เสริมราวจับสำหรับพยุงตัวบนเตียง

รูปที่ 2 การใช้อุปกรณ์เสริมราวจับสำหรับพยุงตัวบนเตียงในผู้ป่วยอัมพาตซีกขวา หรือในผู้สูงอายุ

รูปที่ 3 การเคลื่อนย้ายผู้ป้วยโดยใช้แผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) 


 การจัดสภาพห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน
ห้องน้ำควรมีพื้นที่กว้างพอที่รถเข็นผู้ป่วยสามารถเข้าไปได้ (มากกว่า 1.5 x 1.5 ตารางเมตร) ประตูทางเข้ากว้างไม่ต่ำกว่า 81.5 เซนติเมตรขึ้นไป และติดตั้งราวจับภายในห้องน้ำ ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 85–90 เซนติเมตร (33 – 36 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวเกาะที่เหมาะสมประมาณ 3.2 - 5.1 เซนติเมตร ( 1.25 – 2 นิ้ว) และควรติดให้ยื่นห่างจากผนังมากกว่า 3.8 เซนติเมตร ( 1.5 นิ้ว ) และอาจมีแผ่นยางกันลื่นบริเวณที่ต้องอาบน้ำ และใช้เก้าอี้นั่งสำหรับอาบน้ำ (รูป 4-6)
รูปที่ 4 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย

รูปที่ 5 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย

รูปที่ 6 ห้องน้ำสำหรับผู้ป่วย  


โถส้วม
ควรเป็นแบบชักโครก ความสูงที่เหมาะสมของโถส้วมจะอยู่ที่ประมาณ 43 – 48 เซนติเมตร (17 – 19 นิ้ว) จากพื้น เพื่อที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกจากโถได้สะดวก ถ้าชักโครกต่ำเกินไป ควรทำยกพื้นขึ้นมาใต้โถส้วม (รูปที่ 4) หรือหาแผ่นเสริมความสูงโถส้วม 

และมีราวจับบริเวณโถส้วม ราวจับที่โถส้วมนั้นมีถังติดที่ผนังห้องน้ำ (รูปที่ 7-8) หรือประยุกต์ใช้ที่ช่วยเดิน หรือวอล์กเกอร์ 
( walker) มาติดกับพื้นห้องน้ำ (รูปที่ 9)
และสามารถใช้อุปกรณ์เสริมแผ่นสไลด์บอร์ด เคลื่อนย้ายผู้ป่วย (board transfer) ระหว่างรถเข็นมาโถส้วมหรือที่นั่งอาบน้ำ (รูปที่ 10)
รูปที่ 7 การติดราวจับกับผนังห้องน้ำ บริเวณโภส้วมสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ

รูปที่ 8 โถส้วมปรับเสริมความสูงที่นั่งสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ

รูปที่ 9 การประยุกต์ใช้ที่ช่วยเดินหรือวอล์กเกอร์ 
( walker) มาติดกับพื้นห้องน้ำ 
รูปที่ 10 อุปกรณ์เสริมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างรถเข็นมาโถส้วม

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ

-          ทางลาด สำหรับวาง ณ บริเวณพื้นต่างระดับ เพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายด้วยเก้าอี้รถเข็นสะดวก (รูปที่ 11)
รูปที่ 11 อุปกรณ์เสริมทางลาด

#กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน  #การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน #การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที

สัญญาณเตือนหรืออาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน

สัญญาณเตือนหรืออาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

-         สัญญาเตือนหรืออาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน มีดังนี้ 

  
  •          ผู้ป่วยมีอาการชาและอ่อนแรงของใบหน้าหรือแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง อย่างฉับพลัน
  •            ผู้ป่วยมีอาการสับสน (confusion) มีปัญหาการพูด เช่น พูดไม่ชัดเหมือนลิ้นแข็ง พูดไม่ออก หรือพูดแล้วฟังไม่เข้าใจ ซึ่งอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และหายไปในช่วงเวลาสั้นๆ
  •       ผู้ป่วยมีปัญหาการมองเห็น มองไม่ชัด อาจเป็นได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง แบบฉับพลัน
  •      ผู้ป่วยมีมีปัญหาการเดิน เวียนหัวศีรษะ สูญเสียการทรงตัว 
  •      ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงฉับพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  
    อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นช่วงสั้นๆแล้วหายไป เป็นอาการเตือนของ การขาดเลือดชั่วคราว หรือ ที่เรียกกันว่า มินิสโตรก(Mini-stroke) ดังนั้น หากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบพาผู้ป่วยพบแพทย์ทางระบบประสาทเพื่อได้รับการตรวจและรักษาโดยเร็วที่สุด อาจเลี่ยงการเป็นอัมพาตได้ หรือให้เกิดผลกระทบต่อการเป็นอัมพาตน้อยที่สุด

วิธีการรักษาที่ดีทีสุด สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน คือ 
การส่งแพทย์ให้ได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด ภายใน 3 ชั่วโมง โปรดจำถึงคำว่า "BEFAST "

B = Balance มีอาการสูญเสียการทรงตัว
E = Eyes มีปัญหาการมองเห็น มองไม่ชัด อาจเป็นได้ทั้งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง 
F = Face มีอาการอ่อนแรงของใบหน้าซีกหนึ่ง เช่น มุมปากไม่เท่ากัน ปากข้างหนึ่งตก ยิ้มไม่เท่ากัน
    A = Arms มีอาการอ่อนแรงของแขน หรือ ขาซีกใดซีกหนึ่ง 
    S = Speech มีปัญหาการพูดและความเข้าใจภาษา เช่น พูดไม่ชัด นึกคำไม่ออก ใช้คำพูดผิด หรือฟังคนพูดไม่ออกไม่เข้าใจ
   T = Time รีบส่งพบแพทย์โดยเร็วที่สุด!!



รูปแสดงอาการสำคัญเป็นสัญญานเตือนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบเฉียบพลัน
รูปจาก http://www.lahey.org




#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที

\

โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คืออะไร


โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คืออะไร

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke / Cerebrovascular disease (CVD) / Cerebrovascular accident (CVA) คือ ภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดแดงสมองเป็นสาเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงคงอยู่เกิน 24 ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต (ความหมายตาม WHO

โรคหลอดเลือดสมอง หรือคำที่เรียกกันบ่อยๆว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับสามรองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง พบได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง และเมื่อเกิดโรคโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตนี้แล้ว ก็จะก่อให้เกิดอาการต่างๆทางระบบประสาท

สาเหตุของการเกิดสโตรค การเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง

ความความผิดปกติของระบบหลอดเลือดแดงในสมองในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
            การขาดเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลันที่เรียกว่า “สโตรก” (stroke) เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงในสมอง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

11. หลอดเลือดแดงตีบหรือการอุดตันของหลอดเลือดแดง (Ischemic stroke)

การตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากการที่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดแดง หรือเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจหรือหลอดเลือดแดงเส้นใหญ่ๆ ที่คอ ไหลไปอุดที่สมองการตีบหรือการอุดตันนี้ก็จะทำให้สมองขาดสารอาหารและออกซิเจน ทำให้สมองได้รับการเป็นบาดเจ็บเสียหาย
การขาดเลือดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง (Ischemic stroke)
รูปภาพจาก www.strokecenter.org


รูปไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือดแดง ทำให้ทางเดินของหลอดเลือดแดงแคบลง เป็นสาเหตุให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณนี้
รูปจาก www.123rf.org

 2. หลอดเลือดแดงในสมองแตก (Haemorrhagic stroke)

 ในอัมภาพครึ่งซีกที่เกิดจากหลอดเลือดแดงในสมองแตก มีทั้ง การแตกของหลอดเลือดแดงที่อยู่ในสมอง สาเหตุมักเกิดจาด ความดันโลหิตสูง ส่วนสาเหตอื่นๆ ได้แก่ การบาดเจ็บสมองโดยตรง เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่ม คือ การแตกหลอดเลือดแดงที่อยู่ใต้เยื่อหุ้มสมอง สาเหตุมักเกิดจาก โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm)
รูปแสดงการแตกของหลอดเลือดแดงในสมอง (Haemorrhagic stroke)
รูปจาก www.heartandstroke.ca



สัญญาเตือนหรืออาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน

#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที