การจัดท่าทางบนเตียงสำหรับผู้ป่วยอัมพาต

การจัดท่าทางบนเตียงสำหรับผู้ป่วยอัมพาต
ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะช่วง 1-3 สัปดาห์แรก กล้ามเนื้อซีกหนึ่งของร่างกายจะมีภาวะอ่อนแรงแบบปวกเปียก (flaccid paralysis) หลังจากนั้นแขนขาจะเริ่มขยับได้ เริ่มที่จะเคลื่อไหวได้บางส่วน กล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงจากภาวะอ่อนปวกเปียกเป็นการเกร็งตัว ผู้ป่วยควบคุมการเคลื่อนไหวได้บางส่วน  และพบการเกร็งขณะเคลื่อนไหวซึ่งผู้ป่วยไม่หรือเมื่อเผลอ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถบังคับได้ เช่น นิ้วมืออยู่ในลักษณะงอ กำ ข้อศอกงอ แขนบิดเข้าหาลำตัว ข้อเท้ากระดกลง นิ้วเท้าจิกลง ซึ่งการเกร็งของกล้ามเหล่านี้จะมีความเกร็งมากน้อย ขึ้นกับรอยโรคพยาธิสภาพที่สมอง แต่ก็สามารถที่จะลดการเกร็งและผิดรูปได้ ขึ้นอยู่กับ การออกกำลังกาย กายภาพบำบัดที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดท่าท่างการนอน ในระยะที่เป็นอัมพาตช่วงแรก จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ได้แก่ การหดสั้นของกล้ามเนื้อ การเกร็ง และข้อติด

การจัดท่านอนหงาย
หมอนที่หนุนศีรษะต้องพอดีไม่สูงไม่ต่ำ โดยดูจากเวลาหนุน ให้หน้าพากและคางอยู่ในลักษณะขนานไปบนเตียง ถ้าหัวอยู่สูงกว่าแสดงว่า หมอนสูงไป ถ้าคางเชิดแสดงว่าหมอนต่ำ และศีรษะต้องอยู่ในแนวตรง ใช้หมอนใหญ่หนุนที่หัวไหล่และแขนข้างอ่อนแรง หรือหมอนฝบเล็กขนาดเท่ากันหนุนก็ได้แต่ต้องมีความหนาเท่ากัน เพื่อให้ข้อศอกราบกับเตียง ไม่งอ ใช้มือดึงสะบักผู้ป่วยออกมาเพื่อไม่ให้นอนทับสะบัก จัดแขนให้อยู่ในลักษณะแขนหมุนออกนอกลำตัว ข้อศอกตรง ข้อมือหงาย หมอยรองที่ขาเพื่อจัดขาให้อยู่ในลักษณะตรง (รูปที่1) ถ้าข้อมือเกร็งไม่สามารถหงายได้ หาถุงน้ำหนักเบาๆจัดท่าให้ข้อมือหงาย หรือนิ้วโป้งตั้งขึ้นเพดาน วางถุงน้ำหนักที่ห่อผ้าตรงแขนท่อนล่างเหนือข้อมือ (รูปที่2) ในท่านอนหงายนี้ห้ามใช้อะไรก็ตามดันปลายเท้า ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องดัดปลายเท้าเพื่อไม่ให้เท้าจิกนั้น เป็นความเข้าใจผิด เพราะจะยิ่งกระตุ้นการเกร็ง  (รูปที่ 3)

รูปที่ 1 การจัดท่านอนหงายในผู้ป่วยอัมพาต
                                             
 รูปที่ 2 การจัดมือในท่านอนหงายในผู้ป่วยอัมพาต
                                       
รูปที่ 3 การจัดท่าทางของเท้าที่ผิดในผู้ป่วยอัมพาต
                                     
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง

การจัดท่านอนตะแคงในระยะอ่อนแรง ที่ผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สามารถจัดตะแคงได้ทั้ง 2 ด้าน สลับกัน โดยในท่าตะแคงทับด้านอ่อนแรง ให้ระวังการนอนทับหัวไหล่ ให้จับสะบักข้างอ่อนแรงและดึงออกนอกลำตัว เพื่อให้ไม่นอนทับสะบัก หาหมอนหนุนที่หลัง และขาผู้ป่วย พยายามจัดแขนให้ยื่นมาด้านหน้า (รูปที่ 4) โดยห้ามดึงที่ข้อมือ ให้ดึงเบาๆที่สะบัก อีกมือช่วยประคองต้นแขน

รูปที่ 4 การจัดท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรงในผู้ป่วยอัมพาต
                            

 การจัดท่านอนตะแคงทับข้างปกติ

ใช้หมอนเพื่อวางแขนข้างอ่อนแรง โดยจัดท่าให้แขนข้างอ่อนแรงยื่นมาด้านหน้า โดยการจับที่สะบักโน้มมาข้างหน้า อีกมือหนึ่งประคองแขนไว้  จัดให้วางอยู่บนหมอน สอดหมอนไว้ที่หลังและขาข้างผู้ป่วย (รูปที่ 5)
รูปที่ 5 การจัดท่านอนตะแคงทับข้างปกติในผู้ป่วยอัมพาต


#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น