กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง

กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง


ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ระยะแรกนั้นร่างกายจะเป็นอัมพาต หรืออ่อนแรง พบว่ามีทั้วกล้ามเนื้อบางส่วนที่มีกำลังเหลืออยู่และสามารถขยับเคลื่อนไหวให้เห็นได้ และบางส่วนที่ไม่สามารถขยับได้เลย หรือมีการทำงานหดตัวได้แต่แรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว 


แล้วจะรู้ได้อย่างไงว่าการเนื้อทำงาน ถ้าขยับไม่ได้?

ให้ใช้มือสัมผัสและบอกให้ผู้ป่วยออกแรง หรือ เคลื่อนไหว 
เช่น ไหนลองคิดว่าจะแตะขา จะงอเข่า จะแบมือ แล้วสัมผัสดูถ้าพบการหดตัว 
แสดงว่ายังมีการทำงาน


แล้วจะฝึกกายภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้เมื่อไหร่

สามารถฝึกกายภาพทันที ทั้งที่อยู่รพ. เมื่อการรักษาทางการแพทย์เสร็จแล้วในการแก้ไขและป้องกันภาวะหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หลังจากนั้นเมื่อกลับบ้าน ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกควรได้รับการฝึกกายภาพด้วยตนเองที่บ้านอย่างต่อเนื่องทันที เพราะในระยะ 3 เดือนแรก นี้ เป็นช่วงที่สมองที่ได้รับการกระทบเทือน สามารถฟื้นตัวได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการฝึกฝน และจะส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อและ
การทำงานของกล้ามเนื้อฟื้นฟูได้ดีที่สุดในระยะนี้ 




สมองต้องการการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง

เปรียบเทียบสมองก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิดโสตรก ก็เท่ากับ โปรแกรมรวน บางส่วนเสียหาย บางส่วนถูกลบหายไป


ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาตแล้ว ยังลืมว่าต้องเคลื่อนไหวยังไง
ถ้าไม่ได้รับการฝึก หรือการป้อนข้อมูลลงโปรกแกรมใหม่ที่ถูกต้อง ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจะเคลื่อนไหวแบบผิดๆ และเกิดการผิดรูปของร่างกายมากขึ้น

กายภาพบำบัดที่บ้านการฝึกพลิกตัว พลิกตะแคงบนเตียง
การฝึกกายภาพบำบัดที่บ้าน ในการพลิกตะแคงตัวบนเตียง เพราะว่า จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานของลำตัว สะโพกและขาข้างอ่อนแรง
ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยอัมพาตพลิกตะแคงตัวไปด้านแข็งแรงให้ได้ และฝึกท่ากายภาพบำบัดที่บ้านด้วยตนเอง บ่อยๆ ซ้ำ เพื่อกระตุ้นสมองและเพิ่มความแข็งแรงสำหรับข้างอัมพาต

ในช่วงแรก จะต้องมีการใช้แรงผู้อื่นช่วยนำและกระตุ้นให้เคลื่อนไหวให้ถูกต้อง ในช่วงเริ่มต้นฝึก ถ้าผู้ป่วยอัมพาตยังไม่สามารถงอขาได้ ก็ให้ฝึกช่วยงอขาซ้ำๆ ก่อน งอขาตั้งบนเตียงซ้ำๆ จากนั้นก็ฝึกพลิกตัว
มาดูตัวอย่างการฝึกกายภาพบำบัด ด้วยตนเองที่บ้าน ตามวีดีโอ นี้ค่ะ







#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที 

กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน

การดูแลและกายภาพบำบัดที่บ้านในผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน

ในผู้สูงอายุมักเพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกมากขึ้น เพราะในผู้สูงอายุความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง หรือที่เรียกว่า ความหนาแน่นมวลกระดูก (bone mineral density) ดังนั้นเมื่อมีเจอแรงกระทำภายนอก เช่น แรงจากการสะเทือน แรงจากกระแทก จึงทำให้กระดูกหักได้ง่าย
การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ มักมีสาเหตุ มาจากการล้ม การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อย คือ การหักของกระดูกต้นแขน (humerus) การหักของกระดูกปลายแขน (forearm) การหักของกระดูกข้อมือ (wrist)

การดูแลและกายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน

ในช่วง 3 วันแรก การดูแลเพื่อป้องกันการยุบของเฝือก เนื่องจากเฝือกยังมีความชื้น การดูแลมีดังนี้
-         วางเฝือกบนวัสดุนิ่ม เช่น หมอน หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น พนักเก้าอี้
-         ประคองเฝือกในระหว่างการเคลื่อนย้าย
-         ห้ามใช้มือบีบหรือกดเฝือก
-         เฝือกควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่มปกคลุมเฝือก

กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ป่วยกระดูกแขนหัก ระยะใส่เฝือก

เป้าหมายกายภาพบำบัดที่บ้านในระยะใส่เฝือกนี้ คือ เพื่อลดอาการบวม อาการเจ็บปวด และปัญหาข้อติด

กายภาพบำบัดให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน ควรให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือกบ่อยๆเป็นประจำทั้งวัน ในผู้ป่วยที่ใส่เฝือกมีการจำกัดการเคลื่อนไหว ดังนั้น ทำให้การไหลเวียนโลหิตลดลง กระตุ้นการบวมและการอักเสบนำมาซึ่งความเจ็บปวดได้ ดังนั้น เราจะต้องทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก เช่น การงอเหยียดนิ้วมือ การกำและแบมือ การกระดกข้อมือ และเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกแบบนิ่งๆ เกร็งและผ่อนคลายเป็นจังหวะ เช่น เกร็งกล้ามเนื้องอ-เหยียดศอก เพื่อช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิตที่แขน เพื่อลดหรือป้องกันอาการบวมให้ได้มากที่สุด



การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้าน เพื่อลดบวม ในผู้ป่วย

การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือกสามารถช่วยลดและป้องกันอาการบวมได้ ยกส่วนแขนให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ โดยใช้หมอนรอง ช่วยลดอาการบวม และในระหว่างที่มีการจัดท่าก็สามารถกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก เช่น กำแบมือ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมแดงส่วนอวัยวะที่อยู่นอกเฝือก ก็สามารถประคบเย็นร่วมด้วยได้ และประคบเย็นบนเฝือกได้ แต่ให้ระวังความเปียกชื้น โดยใช้แผ่นเจลประคบเย็นวางบนเฝือก

รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม

รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม (การบริหารมือระหว่างจัดท่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและลดบวมได้ดีขึ้น)


กายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่

การกายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อป้องกันข้อไหล่ยึดติดแข็ง (ยกเว้น ในบางรายผู้ป่วยจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหัวไหล่ประมาณ 3 อาทิตย์)
กายภาพบำบัดที่บ้านโดยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ในทุกทิศทาง โดยมีคนช่วยพยุงประคองจับทีเฝือก โดยประคองบริเวณต้นแขน และอีกมือหนึ่งที่ปลายแขน เคลื่อนไหวช้าๆ ในทิศทางกางแขน ยกแขน หมุนแขนเข้า และหมุนแขนออก ห้ามมีการดึงหรือกระชากส่วนแขน เน้นให้ผู้ป่วยออกแรงด้วยตัวเองโดยมีคนช่วยพยุง ในช่วงแรกที่บริหารอาจมีอาการตึงมาก ให้เริ่มจากขยับองศาที่ละน้อยๆและค่อยขยับไปมากขึ้น


รูปภาพจากเว็บ boneandspine.com
ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน นอกจากการใส่เฝือกยังจำกัดการเคลื่อนไหวของแขน ร่วมกับที่พยุงแขน (arm sling) ดังนั้น ควรใส่ตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน


ที่สำคัญ ในผู้สูงอายุที่ใส่เฝือกทำให้การเคลื่อนไหวตัวเองในชีวิตประจำวันได้ลดลง อาจจำเป็นต้องใช้ญาติหรือผู้ดูแลคอยช่วย ดังนั้น ในการช่วยพยุง ไม่ว่าจะเป็น พยุงพลิกตัว พยุงลุกขึ้นนั่ง พยุงลุกขึ้นยืน ห้ามดึงแขน หรือช้อนบริเวณใต้รักแร้ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเคลื่อนของกระดูกอย่างมาก
ท่ากายภาพบำบัดที่บ้านในการช่วยพยุงผู้ป่วย ที่ถูกต้องคือ จับบริเวณสะบักและสะโพกเมื่อต้อง

พลิกตัว การใช้เช็มขัดเพื่อพยุงยืน เป็นต้น


ข้อควรสังเกตในระยะใส่เฝือก

เมื่อสิ่งผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
-         อาการปวดบวมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง แม้มีการจัดท่ากายภาพบำบัดยกสูงและบริหารกล้ามเนื้อแล้ว นอกจากนี้สังเกตความผิดปกติของสีผิวส่วนปลาย
-         สีผิวข้างทีมีการใส่เฝือกเปลี่ยนแปลง เช่น ซีด หรือ มีสีคล้ำ มีอาการบวมมากขึ้น
-         มีอาการปวดมาก รู้สึกแสบหรือชา เหน็บมากขึ้นเรื่อยๆ
-         ไม่สามารถขยับนิ้วมือข้างที่ใส่เฝือกได้
-         พบเลือด หรือ น้ำหนอง ไหลซึมออกมาจากเฝือก มีกลิ่นเหม็น
-         ปลายมือข้างที่ใส่เฝือก ปวดบวมมาก ปลายมือซีดหรือสีคล้ำ และเย็น
-         คลำชีพจรได้ลดลง
-         เฝือกแตก หัก ร้าว เฝือกหลวมหรือคับจากเดิม

คำแนะนำในการดูแลเฝือกที่บ้าน

-         ห้ามให้เฝือกโดนน้ำ หรือสัมผัสความเปียกชื้น การอาบน้ำ ใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้หลายชั้น โดยในแต่ละขั้นให้มักปากถุงต่างระดับกัน เพื่อช่วยกันน้ำได้ดีขึ้น
-         ห้ามใช้วัตถุปลายแหลม หรือสิ่งของใดๆ แหย่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา เพราะจะทำให้ผิวภายในเฝือกถลอกเกิดอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย
-         เช็ดผิวหนังบริเวณขอบเฝือกให้แห้ง และสะอาด
-         ห้ามแกะ
-         ห้ามดึงสำลีหรือวัสดุเฝือกออก


#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน

#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที