กายภาพบำบัด ที่บ้านผู้ป่วย....โฮมพีที
อุปสรรคในการนำพาผู้ป่วย ไปทำการบำบัดที่โรงพยาบาล หรือคลีนิก ..ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป..PT.Deliveries Group กายภาพบำบัดที่บ้าน
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain's disease)
สาเหตุเกิดจากการอักเสบที่บริเวณเส้นเอ็น และบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ
Abductor pollicis longus (APL) และกล้ามเนื้อ Extensor pollicis brevis (EPB)
การอักเสบที่เกิดขึ้นเกิดจากการบาดเจ็บจากการใช้งานข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำๆ การใช้งานขยับนิ้วหัวแม่มือซ้ำ ๆ
หรือการใช้งานที่มีการกำมือ หรือการกำมือร่วมกับการบิดเอียงข้อมือไปทางด้านนิ้วก้อย เช่น บิดลูกบิดประตู
ยกของ การเขียนหนังสือ การหนีบสิ่งของ การบิดฝาเปิดขวดน้ำ การใช้กรรไกร กีฬาเทนนิส เป็นต้น
อาการ
- มีอาการปวดบริเวณข้อมือบริเวณโคนนิ้วหัวแม่ มือ บางรายอาจมีอาการ ปวดร้าวไปที่บริเวณแขนท่อนปลาย หรือ ปลายนิ้วหัวแม่มือได้
- มีอาการปวดเมื่อใช้งานนิ้วหัวแม่มือ และข้อมือในการ ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การยกของ เขียนหนังสือ ซักผ้า รวมถึงการหยิบจับสิ่งของ
วิธีการรักษาการรักษาผู้ป่วย de Quervain
ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพ ระยะและระดับความรุนแรงระดับความรุนแรง
แนะนำหากเริ่มมีอาการปวดบริเวณดังกล่าว ต้องมีการลดการอักเสบให้ได้เร็วที่สุด
เพื่อป้องกันระดับความรุนแรงและการเป็นเรื้อรัง รายการรักษามีลำดับดังนี้
1. การพักการใช้งาน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นอาการ และห้ามกดบีบนวดบริเวณที่มีอาการปวด
2. การใส่อุปกรณ์ประคองข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อและพักการเคลื่อนไหว
ของหัวแม่มือและข้อมือ ใส่ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์
3. การประคบเย็น งานประคบเย็นควรประคบทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง
ครั้งละ 10-15 นาที และสามารถประคบเย็นได้บ่อยๆ หากเริ่มมีอาการปวดหลังจากการใช้งานก็สามารถประคบเย็นได้ทันที
กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง
กายภาพบำบัดที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก การฝึกเคลื่อนไหวพลิกตัวบนเตียง
ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ระยะแรกนั้นร่างกายจะเป็นอัมพาต หรืออ่อนแรง พบว่ามีทั้วกล้ามเนื้อบางส่วนที่มีกำลังเหลืออยู่และสามารถขยับเคลื่อนไหวให้เห็นได้ และบางส่วนที่ไม่สามารถขยับได้เลย หรือมีการทำงานหดตัวได้แต่แรงไม่มากพอที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
แล้วจะรู้ได้อย่างไงว่าการเนื้อทำงาน ถ้าขยับไม่ได้?
ให้ใช้มือสัมผัสและบอกให้ผู้ป่วยออกแรง หรือ เคลื่อนไหว
เช่น ไหนลองคิดว่าจะแตะขา จะงอเข่า จะแบมือ แล้วสัมผัสดูถ้าพบการหดตัว
แสดงว่ายังมีการทำงาน
แล้วจะฝึกกายภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้เมื่อไหร่
สามารถฝึกกายภาพทันที ทั้งที่อยู่รพ. เมื่อการรักษาทางการแพทย์เสร็จแล้วในการแก้ไขและป้องกันภาวะหลอดเลือดสมอง แตก ตีบ ตัน หลังจากนั้นเมื่อกลับบ้าน ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกควรได้รับการฝึกกายภาพด้วยตนเองที่บ้านอย่างต่อเนื่องทันที เพราะในระยะ 3 เดือนแรก นี้ เป็นช่วงที่สมองที่ได้รับการกระทบเทือน สามารถฟื้นตัวได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการฝึกฝน และจะส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อฟื้นฟูได้ดีที่สุดในระยะนี้
สมองต้องการการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง
เปรียบเทียบสมองก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ เมื่อเกิดโสตรก ก็เท่ากับ โปรแกรมรวน บางส่วนเสียหาย บางส่วนถูกลบหายไปผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก นอกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาตแล้ว ยังลืมว่าต้องเคลื่อนไหวยังไง
ถ้าไม่ได้รับการฝึก หรือการป้อนข้อมูลลงโปรกแกรมใหม่ที่ถูกต้อง ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจะเคลื่อนไหวแบบผิดๆ และเกิดการผิดรูปของร่างกายมากขึ้น
กายภาพบำบัดที่บ้านการฝึกพลิกตัว พลิกตะแคงบนเตียง
การฝึกกายภาพบำบัดที่บ้าน ในการพลิกตะแคงตัวบนเตียง เพราะว่า จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งานของลำตัว สะโพกและขาข้างอ่อนแรง
ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยอัมพาตพลิกตะแคงตัวไปด้านแข็งแรงให้ได้ และฝึกท่ากายภาพบำบัดที่บ้านด้วยตนเอง บ่อยๆ ซ้ำ เพื่อกระตุ้นสมองและเพิ่มความแข็งแรงสำหรับข้างอัมพาต
ในช่วงแรก จะต้องมีการใช้แรงผู้อื่นช่วยนำและกระตุ้นให้เคลื่อนไหวให้ถูกต้อง ในช่วงเริ่มต้นฝึก ถ้าผู้ป่วยอัมพาตยังไม่สามารถงอขาได้ ก็ให้ฝึกช่วยงอขาซ้ำๆ ก่อน งอขาตั้งบนเตียงซ้ำๆ จากนั้นก็ฝึกพลิกตัว
มาดูตัวอย่างการฝึกกายภาพบำบัด ด้วยตนเองที่บ้าน ตามวีดีโอ นี้ค่ะ
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน
การดูแลและกายภาพบำบัดที่บ้านในผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขนและใส่เฝือกแขน
ในผู้สูงอายุมักเพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูกมากขึ้น
เพราะในผู้สูงอายุความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง หรือที่เรียกว่า
ความหนาแน่นมวลกระดูก
(bone mineral density) ดังนั้นเมื่อมีเจอแรงกระทำภายนอก
เช่น แรงจากการสะเทือน แรงจากกระแทก จึงทำให้กระดูกหักได้ง่าย
การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ
มักมีสาเหตุ มาจากการล้ม การหักของกระดูกแขนในผู้สูงอายุ ที่พบได้บ่อย คือ
การหักของกระดูกต้นแขน (humerus)
การหักของกระดูกปลายแขน (forearm) การหักของกระดูกข้อมือ (wrist)
การดูแลและกายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน
ในช่วง 3 วันแรก การดูแลเพื่อป้องกันการยุบของเฝือก
เนื่องจากเฝือกยังมีความชื้น การดูแลมีดังนี้
-
วางเฝือกบนวัสดุนิ่ม เช่น หมอน หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น
พนักเก้าอี้
-
ประคองเฝือกในระหว่างการเคลื่อนย้าย
-
ห้ามใช้มือบีบหรือกดเฝือก
-
เฝือกควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก
หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าห่มปกคลุมเฝือก
กายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ป่วยกระดูกแขนหัก ระยะใส่เฝือก
เป้าหมายกายภาพบำบัดที่บ้านในระยะใส่เฝือกนี้
คือ เพื่อลดอาการบวม อาการเจ็บปวด และปัญหาข้อติด
กายภาพบำบัดให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้าน
ควรให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่ภายนอกเฝือกบ่อยๆเป็นประจำทั้งวัน ในผู้ป่วยที่ใส่เฝือกมีการจำกัดการเคลื่อนไหว
ดังนั้น ทำให้การไหลเวียนโลหิตลดลง กระตุ้นการบวมและการอักเสบนำมาซึ่งความเจ็บปวดได้
ดังนั้น เราจะต้องทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก เช่น
การงอเหยียดนิ้วมือ การกำและแบมือ การกระดกข้อมือ
และเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ในเฝือกแบบนิ่งๆ เกร็งและผ่อนคลายเป็นจังหวะ เช่น
เกร็งกล้ามเนื้องอ-เหยียดศอก เพื่อช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิตที่แขน
เพื่อลดหรือป้องกันอาการบวมให้ได้มากที่สุด
การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้าน เพื่อลดบวม ในผู้ป่วย
การจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านสำหรับผู้ป่วยใส่เฝือกสามารถช่วยลดและป้องกันอาการบวมได้
ยกส่วนแขนให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ โดยใช้หมอนรอง ช่วยลดอาการบวม และในระหว่างที่มีการจัดท่าก็สามารถกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่นอกเฝือก
เช่น กำแบมือ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบวมแดงส่วนอวัยวะที่อยู่นอกเฝือก
ก็สามารถประคบเย็นร่วมด้วยได้ และประคบเย็นบนเฝือกได้ แต่ให้ระวังความเปียกชื้น
โดยใช้แผ่นเจลประคบเย็นวางบนเฝือก
รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม
รูปการจัดท่ากายภาพบำบัดที่บ้านเพื่อลดบวม (การบริหารมือระหว่างจัดท่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนและลดบวมได้ดีขึ้น)
กายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่
การกายภาพบำบัดบริหารเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อป้องกันข้อไหล่ยึดติดแข็ง
(ยกเว้น ในบางรายผู้ป่วยจะถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหัวไหล่ประมาณ 3 อาทิตย์)
กายภาพบำบัดที่บ้านโดยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ
มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ในทุกทิศทาง โดยมีคนช่วยพยุงประคองจับทีเฝือก
โดยประคองบริเวณต้นแขน และอีกมือหนึ่งที่ปลายแขน เคลื่อนไหวช้าๆ ในทิศทางกางแขน
ยกแขน หมุนแขนเข้า และหมุนแขนออก ห้ามมีการดึงหรือกระชากส่วนแขน
เน้นให้ผู้ป่วยออกแรงด้วยตัวเองโดยมีคนช่วยพยุง
ในช่วงแรกที่บริหารอาจมีอาการตึงมาก ให้เริ่มจากขยับองศาที่ละน้อยๆและค่อยขยับไปมากขึ้น
![]() |
รูปภาพจากเว็บ boneandspine.com |
ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีการหักของกระดูกแขน
นอกจากการใส่เฝือกยังจำกัดการเคลื่อนไหวของแขน ร่วมกับที่พยุงแขน (arm sling) ดังนั้น ควรใส่ตลอดเวลาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย
ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน
ที่สำคัญ
ในผู้สูงอายุที่ใส่เฝือกทำให้การเคลื่อนไหวตัวเองในชีวิตประจำวันได้ลดลง
อาจจำเป็นต้องใช้ญาติหรือผู้ดูแลคอยช่วย ดังนั้น ในการช่วยพยุง ไม่ว่าจะเป็น
พยุงพลิกตัว พยุงลุกขึ้นนั่ง พยุงลุกขึ้นยืน ห้ามดึงแขน หรือช้อนบริเวณใต้รักแร้
เพราะมีความเสี่ยงต่อการเคลื่อนของกระดูกอย่างมาก
ท่ากายภาพบำบัดที่บ้านในการช่วยพยุงผู้ป่วย
ที่ถูกต้องคือ จับบริเวณสะบักและสะโพกเมื่อต้อง
พลิกตัว การใช้เช็มขัดเพื่อพยุงยืน
เป็นต้น
ข้อควรสังเกตในระยะใส่เฝือก
เมื่อสิ่งผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
-
อาการปวดบวมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลง แม้มีการจัดท่ากายภาพบำบัดยกสูงและบริหารกล้ามเนื้อแล้ว
นอกจากนี้สังเกตความผิดปกติของสีผิวส่วนปลาย
-
สีผิวข้างทีมีการใส่เฝือกเปลี่ยนแปลง เช่น ซีด หรือ มีสีคล้ำ
มีอาการบวมมากขึ้น
-
มีอาการปวดมาก รู้สึกแสบหรือชา เหน็บมากขึ้นเรื่อยๆ
-
ไม่สามารถขยับนิ้วมือข้างที่ใส่เฝือกได้
-
พบเลือด หรือ น้ำหนอง ไหลซึมออกมาจากเฝือก มีกลิ่นเหม็น
-
ปลายมือข้างที่ใส่เฝือก ปวดบวมมาก ปลายมือซีดหรือสีคล้ำ และเย็น
-
คลำชีพจรได้ลดลง
-
เฝือกแตก หัก ร้าว เฝือกหลวมหรือคับจากเดิม
คำแนะนำในการดูแลเฝือกที่บ้าน
-
ห้ามให้เฝือกโดนน้ำ หรือสัมผัสความเปียกชื้น การอาบน้ำ
ใช้ถุงพลาสติกหุ้มเฝือกไว้หลายชั้น โดยในแต่ละขั้นให้มักปากถุงต่างระดับกัน
เพื่อช่วยกันน้ำได้ดีขึ้น
-
ห้ามใช้วัตถุปลายแหลม หรือสิ่งของใดๆ แหย่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา
เพราะจะทำให้ผิวภายในเฝือกถลอกเกิดอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย
-
เช็ดผิวหนังบริเวณขอบเฝือกให้แห้ง และสะอาด
-
ห้ามแกะ
-
ห้ามดึงสำลีหรือวัสดุเฝือกออก
#กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต
#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน
#กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที
กายภาพบำบัดที่บ้าน..โฮมพีที
การบริการ...กายภาพบำบัด ที่บ้าน..คืออะไร?
บริการทางกายภาพบำบัด ที่บ้านของผู้ป่วยเพื่อตรวจประเมินและบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และ ข้อต่อต่างๆ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น...
อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเด็กที่พิการทางสมองรวมทั้ง บริการให้คำปรึกษา แก้ไขภาวะการบาดเจ็บจาก.....
การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ที่มีปัญหา ปวด ตึง เมื่อย ร้าว กล้ามเนื้อ ข้อ เส้นเอ็น กระดูก...
-->
โทร. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
0ุ63-569-2624 ตั้งแต่ 8.00-24.00 น.
-->
ตึง ร้าว ปวด เมื่อย จากการทำงาน
เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ จะพบอาการปวด ตึง ร้าว เอว หลัง บ่า และคอ และอาจพบอาการปวดศรีษะ ร่วมด้วย
หรืองานที่ต้องใช้สรีระ ร่างกาย อวัยวะ แขนขา
เช่น ใส่รองเท้าส้นสูง เดิน หรือ ยืน นานๆ จะเกิดอาการปวด
ตึงได้ ตั้งแต่ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ข้อพับ ไปจนถึงสะโพกและก้นได้ เป็นต้น
หรืองานที่ต้องใช้สรีระ ร่างกาย อวัยวะ แขนขา
เช่น ใส่รองเท้าส้นสูง เดิน หรือ ยืน นานๆ จะเกิดอาการปวด
ตึงได้ ตั้งแต่ข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ข้อพับ ไปจนถึงสะโพกและก้นได้ เป็นต้น
-->
ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆ
จะพบอาการ ปวด ตึง ร้าว ตั้งแต่ นิ้วชี้ ข้อมือ แขน ข้อศอก ต้นแขน บ่า ไหล่ ไปจนถึง คอ และศรีษะ ได้
ปวดหลัง-เอว จากภาวะตั้งครรภ์
ด้วยน้ำหนักทารกในครรภ์ มารดา รวมทั้งน้ำคร่ำ และน้ำหนักตัวของมารดาที่มากขึ้นตามตัวทารก จึงเกิดอาการ กดทับไปที่กระดูกสันหลัง เอว สะโพก ก้นกบ ต้นขา ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งบ่อยครั้ง พบว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 6 เดือน เป็นต้นไป จะเกิดอาการ เจ็บ ปวด ตึง เมื่อย อย่างมากได้
บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือเล่นกีฬา
อัมพฤกษ์ อัมพาต และข้อเข่าเสื่อม
อาการที่พบบ่อย ของผู้ป่วยสมองเสื่อม หรือพิการทางสมอง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในการ นั่ง ยืน เดิน กินอาหาร ผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต เหล่านี้ ล้วนต้องได้รับการบำบัด ฟื้นฟู อย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาใช้อวัยวะ ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ ลดภาระในการดูแล และช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ที่ตนเองสามารถกลับมาใช้งานอวัยวะต่างๆ ได้บ้าง
-->
เจ็บ ปวด เมื่อย ร้าว จากการออกกำลังกาย
เด็ก หรือผู้สูงอายุ สมองเสื่อม หรือพิการทางสมอง
เช่นเดียวกันกับ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต การบำบัด ฟื้นฟู ต้องอาสัยความต่อเนื่อง และอดทน อย่างยาวนาน เพื่อพัฒนา การเคลื่อนไหว ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อ ของอวัยวะ ส่วนต่าง ที่สมองต้องจดจำ และสั่งการ ซึ่งสมองส่วนที่เสื่อม นั้นๆ ลืมหน้าที่สำคัญต่างๆ ไปแล้ว
และถ้าเป็นในเด็กพิการทางสมอง ตั้งแต่ กำเนิด ก็ต้องใช้ความพยายามมากกว่า
เพื่อการพัฒนาการในการเคลื่อนไหวของเขา
เพื่อการพัฒนาการในการเคลื่อนไหวของเขา
สิ่งสำคัญ คือ เมื่อท่านพบปัญหา อย่านิ่งนอนใจ สอบถาม ขอคำแนะนำ
และรีบทำการบำบัดรักษา ฟื้นฟู เสียแต่แรก อาการและภาวะเจ็บ ปวด ตึง ร้าว
จะสามารถทุเลา และหายไปได้รวดเร็ว มากกว่า การปล่อยทิ้งไว้นานๆ
03 Mar 2011 By Pt.Tan
03 Mar 2011 By Pt.Tan
#โรคหลอดเลือดสมอง #โรคอัมพฤกษ์ #โรคอัมพาต #อัมพาตครึ่งซีก #กายภาพบำบัด #กายภาพบำบัดที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาต #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ #กายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน #กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่บ้าน #โฮมพีที
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)